ยินดีต้อนรับทุกท่านเข้าสู่บล็อก Jittarat Jeaboon. บล็อกเพื่อการพัฒนาการเรียนการสอนระดับประถมศึกษา และแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์สอน มุ่งเน้นการเรียนการสอนภาษาอังกฤษระดับประถมศึกษาค่ะ.
Welcome to Jittarat Jeaboon biogger for elementary education.
แนะนำโครงการทุนครูสอนดี
ทุนครูสอนดี เกิดขึ้นตามเจตนารมณ์ของ สสค.(สำนักงานส่งเสริมสังคมแห่งการเรียนรู้
และคุณภาพเยาวชน) ที่มุ่งส่งเสริมผู้ทำหน้าที่ครูได้มีโิกาสพัฒนาคุณภาพเยาวชน โดยคัดเลือกครูสอนดี ระดับตำบล สู่ระดับจังหวัด และคัดเลือกรับทุนครูสอนดี 250,000 บาท
โครงการพัฒนาการจัดการเรียนการสอนภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารสู่ประชาคมอาเซียน
หลักการและเหตุผล
การจัดการศึกษาต้องยึดผู้เรียนเป็นสำคัญ กระบวนการจัดการศึกษาต้องส่งเสริมให้ผู้เรียนสามารถพัฒนาตนเองตามศักยภาพ สถานศึกษาและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการจัดการเนื้อหาสาระและกิจกรรมให้สอดคล้องกับความสนใจ
และความถนัดของผู้เรียน
โดยคำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคล
รวมทั้งด้านการสื่อสาร เพื่อสามารถดำรงชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข การปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่
2 (พ.ศ. 2552-2561) ที่มุ่งให้คนไทยได้เรียนรู้ตลอดชีวิตอย่างมีคุณภาพ เน้นการปฏิรูป 4 ด้าน ได้แก่ พัฒนาคุณภาพคนไทยยุคใหม่
พัฒนาคุณภาพครูยุคใหม่ พัฒนาคุณภาพสถานศึกษาและแหล่งเรียนรู้ยุคใหม่
และ พัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการใหม่ โดยตั้งค่าเป้าหมายและตัวบ่งชี้ด้านคนไทยและการศึกษาไทยไว้ว่าต้องมีความสามารถด้านภาษาอังกฤษเพิ่มขึ้นร้อยละ
3 ต่อปี
สอดคล้องกับนโยบายกระทรวงศึกษาธิการที่กำหนดให้ปี 2555
เป็นปีแห่งการพูดภาษาอังกฤษ (English Speaking Year 2012) เพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียนให้พร้อมรับการเปลี่ยนแปลงสู่ประชาคมอาเซียน
(ASEAU Community-AC)
จากข้อมูลรายงานผลการประเมินภายนอกรอบสองของสถานศึกษาในปี 2554 พบว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนกลุ่มสาระภาษาต่างประเทศ (ภาษาอังกฤษ) อยู่ในระดับ ต้องปรับปรุง และได้เสนอแนะให้สถานศึกษาปรับปรุงอย่างเร่งด่วน สอดคล้องผลการทดสอบระดับชาติ (O-net) กลุ่มสาระภาษาต่างประเทศ ปี 2554 ได้คะแนนเฉลี่ย 24.56 ซึ่งถือว่าอยู่ในระดับที่ต่ำมาก รวมทั้งจากข้อมูลการสำรวจความต้องการของผู้ปกครองในปี 2555 พบว่า ผู้ปกครองร้อยละ 89 มีความต้องการให้โรงเรียนมุ่งเน้นการพัฒนาการเรียนรู้ภาษาอังกฤษ ซึ่งสอดคล้องกับรายงานผลการดำเนินงานโครงการพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน พบว่า นักเรียนมีความยุ่งยากและขาดความพร้อมในการเรียนการสอนภาษาอังกฤษ แม้ว่าโรงเรียนพยายามพัฒนาการเรียนการสอนแต่ยังไม่ประสบผลสำเร็จ เนื่องจากครูที่สอนภาษาอังกฤษมีไม่เพียงพอ ขาดการพัฒนาครูอย่างต่อเนื่อง นักเรียนขาดแคลนสื่ออุปกรณ์ ยากจน รวมทั้งขาดแหล่งเรียนรู้ที่มีคุณภาพ
จากสภาพปัญหาดังกล่าว โรงเรียนได้ดำเนินการวิเคราะห์จุดเด่น-จุดด้อย โอกาส-อุปสรรคการพัฒนาการเรียนรู้ภาษาอังกฤษของผู้เรียนและศึกษาข้อมูลที่เกี่ยวข้อง ทำให้เข้าใจสภาพและบริบทของโรงเรียนและมีแนวทางการพัฒนาโดยส่งเสริมความรู้ความเข้าใจและทักษะการเรียนการสอนภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารแก่ครู จัดหาสื่ออุปกรณ์พัฒนาการเรียนการสอนภาษาอังกฤษ จัดทำแหล่งเรียนรู้ จัดหาและพัฒนาศักยภาพครูผู้ช่วยสอน จัดหาวิทยากรชาวต่างชาติเจ้าของภาษา ดังนั้นจึงมีแนวคิดจัดทำโครงการพัฒนาการจัดการเรียนการสอนภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารสู่ประชาคมอาเซียน เพื่อให้นักเรียนกลุ่มเป้าหมายมีความรู้ ทักษะ สามารถสื่อสารภาษาอังกฤษได้ รวมทั้งนำความรู้ที่ได้รับไปประยุกต์ใช้ในการดำเนินชีวิตประจำวันได้อย่างมีความสุขภายใต้ประชาคมอาเซียน
เป้าประสงค์
นักเรียนกลุ่มเป้าหมายมีความพร้อมที่จะเผชิญกับวิถีชีวิตในประชาคมอาเซียนอย่างมีความสุข
1. นักเรียนมีความรู้ความสามารถในการฟัง
พูด อ่าน เขียนภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารได้
2. นักเรียนมีทักษะการแสวงหาความรู้เกี่ยวกับภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารสู่ประชาคมอาเซียนได้
3. นักเรียนมีคุณลักษณะที่พึงประสงค์ ช่วยเหลือตนเองได้
และดำรงชีวิตอยู่ในประชาคมอาเซียนได้อย่างมีความสุข
กลุ่มเป้าหมาย
คัดเลือกกลุ่มเป้าหมายโดยสำรวจและสอบถามตามวิธีการคัดกรองนักเรียนในระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน
ของกรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข และสำรวจตามแบบสำรวจนักเรียนด้อยโอกาส
ของ สพฐ.ร่วมกับครูที่ปรึกษาประจำชั้นเรียน
ดังนี้
1. กลุ่มเป้าหมายหลัก 25 คน
2. กลุ่มเป้าหมายรอง 17 คน
ตัวชี้วัด
-
1.
กลุ่มเป้าหมายไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 สามารถฟัง พูด อ่านเขียนภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารได้
-
2.
กลุ่มเป้าหมายไม่น้อยกว่าร้อยละ 80
สามารถแสวงหาความรู้เกี่ยวกับภาษาอังกฤษเพื่อการ
-
สื่อสารสู่ประชาคมอาเซียนได้
3. กลุ่มเป้าหมายไม่น้อยกว่าร้อยละ 80
มีคุณลักษณะที่พึงประสงค์
ช่วยเหลือตนเองได้
และดำรงชีวิตอยู่ในประชาคมอาเซียนได้อย่างมีความสุข
พื้นที่ดำเนินการ
1. โรงเรียนบ้านบ่อหิน
ตำบลไหล่ทุ่ง
อำเภอตระการพืชผล
จังหวัดอุบลราชธานี
2. ห้องสมุดประชาชนอำเภอตระการพืชผล
จังหวัดอุบลราชธานี
3. ห้องสมุดโรงเรียนนารีนุกูล 2 อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี
4. โรงเรียนนารีนุกูล อำเภอเมือง
จังหวัดอุบลราชธานี
5. ศูนย์เรียนรู้ชุมชนบ้านดอนหมู
อำเภอตระการพืชผล
จังหวัดอุบลราชธานี
6. สนามบินนานาชาติอุบลราชธานี
อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี
7. คณะครุศาสตร์
วิชาเอกภาษาอังกฤษ
มหาวิทยาลัยราชภัฎอุบลราชธานี
8. โรงเรียนมัธยมตระการพืชผล
อำเภอตระการพืชผล จังหวัดอุบลราชธานี
แผนการดำเนินงาน
ระยะที่ 1 (งวดที่ 1) 1 ตุลาคม 2555–31 มีนาคม
2556 (ส่งรายงานงวดที่ 1 ให้ สสค.ภายในวันที่ 31 มีนาคม 2556
ระยะที่ 2 (งวดที่ 2) 1 เมษายน 2556–30 กันยายน
2556 (ส่งรายงานงวดที่ 2 ให้ สสค.ภายในวันที่ 30 กันยายน 2556)
ระยะที่ 3 (งวดที่ 3) 1 ตุลาคม 2556–31 มีนาคม 2557 (ส่งรายงานงวดที่
3 ให้ สสค.ภายในวันที่ 31 มีนาคม 2557)
กิจกรรมหลัก
- วิทยากรชาวต่างชาติเพื่อจัดการเรียนรู้ฯ
- จัดหาพัฒนาสื่อนวัตกรรมอุปกรณ์เทคโนโลยี และแหล่งเรียนรู้
- อบรมพัฒนาครูผู้ช่วยสอนและคณะครูทุกคนเพื่อพัฒนาทักษะการเรียนการสอน
ภาษาอังกฤษ
ภาษาอังกฤษ
- ค่ายภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารสู่ประชาคมอาเซียน
- ศึกษาดูงานทักษะการใช้ภาษา
อังกฤษเพื่อการสื่อสารสู่ประชาคมอาเซียน
- ศึกษาดูงานเพื่อพัฒนาคุณลักษณะที่พึงประสงค์ การช่วยเหลือตนเอง สู่ประชาคมอาเซียน
- ฝึกปฏิบัติการใช้ทักษะภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารสู่ประชาคมอาเซียน
การติดตามและประเมินผล
1.
การติดตาม
1.1
การประชุมเพื่อติดตาม
1.2
การรายงานความก้าวหน้าการดำเนินงานเป็นระยะ รวม
3 ระยะ
1.3
การนิเทศ
2. การประเมินผล
2.1 แบบทดสอบ,
สัมภาษณ์
2.2 แบบสอบถาม,
แบบแสดงความคิดเห็น
2.3 แบบประเมินผลการศึกษาเรียนรู้จากแหล่งเรียนรู้
2.4 แบบประเมินก่อน-หลังการฝึกทักษะฯ
2.5 แบบประเมินคุณลักษณะที่พึงประสงค์
2.6
แบบประเมินทักษะการใช้ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร
2.7 แบบประเมินโครงการความยั่งยืนของโครงการ
1. เมื่อโครงการสิ้นสุดลงแล้ว โรงเรียนดำเนินกิจกรรมส่งเสริมทักษะการใช้ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารได้อย่างต่อเนื่องและขยายผลสู่ทุกห้องเรียน
ซึ่งถือเป็นภารกิจหลักของโรงเรียนในการพัฒนาความพร้อมด้านภาษาอังกฤษสู่ประชาคมอาเซียน
2. นักเรียนสามารถนำเอาทักษะการแสวงหาความรู้เพื่อพัฒนาภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารได้ นำไปใช้ในการศึกษาต่อและการดำเนินชีวิตในกลุ่มประชาคมอาเซียนได้
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น